วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการควบคุมภายใน 25/06/52

►Risk

1. Inherent Risk ความเสี่ยงสืบเนื่อง เป็นความเสี่ยงที่ติดตัวของยอดคงเหลือ และเป็นความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น แก้ว ก็มีความเสี่ยงในการแตก

- ระดับของงบการเงิน ( Inherent Risk at the Financial Statements Level) จะมองในส่วนของผู้บริหาร (ผู้บริหารที่กล้าได้กล้าเสีย) และ อาจจะเข้าไปมีผลกระทบกับรายการบางตัวได้

- ระดับยอดคงเหลือ/รายยการ(Inherent Risk at the Account Balance and Class of Transaction Level)จะเจาะเข้าไปในแต่ละรายการ เช่น

งบดุล เงินสด – สูญหาย , ถูกยักยอก
ลูกหนี้ - หนี้สูญ , บันทึกไม่ครบ
สินค้า - ความล้าสมัย

งบกำไรขาดทุน รายได้ - สูงไป , ต่ำไป
ค่าใช้จ่าย - สูงไป , ต่ำไป

2. Control Risk ความเสี่ยงในการควบคุม จะใช้การประเมินเข้ามาตัดสินว่าอยู่ในระดับใด

Inherent Risk
Internal Control (ลูกค้า , บริษัท)
Control Risk (ผู้ตรวจสอบ)

3. Detection Risk ความเสี่ยงในการตรวจสอบ เช่น เงินสด
- ความเสี่ยงจากการเลือกตัวอย่าง
- วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ
- ข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ
Internal Control ------> COSO
บริษัททำการประเมินภายใน
- สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)
- การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
- กิจกรรมการควบคุม (Control Activites)
- สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)
- การติดตามผล (Monitoring)






>>>>เป็นกำลังใจให้อาจารย์ในทุกๆเรื่องเลยนะค่ะ<<<<

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนงานสอบบัญชี 18/06/09

► การวางแผน เริ่มจาก

1.ตั้งวัตถุประสงค์ : วิสัยทัศน์ : ต้องการออกReport

2.แผนกลยุทธ์ : เป็นแผนที่จะนำไปปฏิบัติงาน ตัวกำหนดแบ่งเป็น 3 ตัวกำหนด

- ลักษณะ : แบบการตรวจสอบ(ทำให้ทราบระยะเวลา)

1.) Interim Audit : การตรวจสอบระหว่างปี เป็นการตรวจได้เฉพาะระบบควบคุมภายใน(Test of control)
ระบบควบคุมภายใน : ป้องกันการเกิดทุจริต หรือข้อผิดพลาด (ถ้าระบบควบคุมภายในดี ข้อผิดพลาดก็จะน้อยทำให้เกิดความเสี่ยงต่ำ ส่งผลถึงตอนสิ้นปีเราก็ทำการตรวจสอบน้อยลงกว่าระบบควบคุมภายในไม่ดี)

2.) Year End Audit : การตรวจสอบงบการเงิน(Substantive Test) :
ตรวจหาสาระสำคัญ

- ระยะเวลา :


1.) Interim Audit : ไม่เกิน 31 ธ.ค.


2.) Year End Audit : ไม่เกินวันที่ยื่นงบการเงิน

- ขอบเขต : การสุ่มตัวอย่าง(ขนาดตัวอย่าง : ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของบริษัท) เท่าใดถึงจะเพียงพอที่จะแสดงความเชื่อมั่นได้

3.แผนปฏิบัติงาน

►แผนการสอบบัญชี โดยรวม

1. พิจารณาการรับงาน : เพราะมีความเสี่ยง พิจารณาจาก


1.) ผู้บริหาร เช่น ถ้าผู้บริหารมีความกล้าได้ กล้าเสีย ก็จะมีความเสียสูง


2.) ตัวProductของบริษัท เช่น คอมพิวเตอร์ มีความเสี่ยงคือ ความล้าสมัย,
ทอง หรือเพชร มีความเสี่ยงคือ ความปลอดภัย


3.) บุคคลใดเป็นคนตรวจบัญชีของปีก่อน(ทำไมทางบริษัทถึงไม่จ้างบุคคลเดิมต่อ,
ทำไมถึงมาเลือกเราทำแทน)

วิธีการตรวจสอบเหตุผล : เริ่มจากให้เราส่งจดหมายไปถามบุคคลเก่าที่เคย
ทำงานให้บริษัท ว่ามีเหตุผลทางมารยาทหรือไม่ ถ้ามี ให้เราแจ้งไปทางบริษัท
ให้ทางบริษัทอีกทีให้ส่งจดหมายไปหาบุคคลเก่าที่เคยทำงาน ว่าอนุญาตให้
บอกลายละเอียดของเหตุผลทางมรรยาทกับเรา

ลูกค้าของเรา มี 2 แบบ คือ

1.) แบบเคยเป็นลูกค้าของบุคคลอื่นมาก่อน
2.) แบบไม่เคยเป็นลูกค้าของบุคคลใดเลย

Engagement Letter(จดหมายตอบรับงาน) : ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระบุ คือ
ลักษณะ, ระยะเวลา, ค่าบริการ

2. รวบรวมข้อมูลของกิจกรรม
Plant Tour : ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ
สิ่งที่นักสอบบัญชีควรทำเมื่อไปเยี่ยมสถานประกอบการ
- พกความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบการ และควรจดบันทึกขนาดเยี่ยมสถานประกอบการ
- สัมภาษณ์ผู้บริหาร : จะทำProjectอะไรในอนาคต
- สอบถามพักงาน/แม่บ้าน/รปภ. เช่น เข้ามาทำงานสายได้ไหม, ตอกบัตรเข้าทำงานแทนกันได้หรือไม่
- มนุษยสัมพันธ์ : ถ้ามีมากก้อจะได้ข้อมูลมาก
- ดูสมุดบัญชีหรืองบการเงินของบริษัท(2-3ปีที่แล้ว) : นำมาเปรียบเทียบกัน ดูและวิเคราะห์แนวโน้มการเงินของบริษัท, วิเคราะห์อัตราส่วนของสินค้าคงเหลือ(ต้นตุนขาย หารด้วยสินค้าคงเหลือ)

3. วิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น

4. กำหนดความมีสาระสำคัญ
สาระสำคัญ(materiality) : ถ้าเรารู้เพิ่มจากก่อนหน้าที่เราไม้รู้ แล้วเราจะตัดสินใจอีกแบบหนึ่ง
พิจารณาจาก – ขนาดของกิจการ
- ดุลยพินิจของคนแต่ละคน : ทุกคนในทีม ต้องทำการตกลงว่าสาระสำคัญคืออะไรให้ตรงกัน แต่ผู้สอบ คือคนที่สรุปท้ายสุด


หมายเหตุ : - จากคำถามที่ อาจารย์ได้ถามในห้องว่า กำหนดการยืนแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี คือเมื่อใด คำตอบคือ ภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
- นางสาวสุพรรณี เพ็งสุทธิ์ รหัส 505562 ได้ดร็อปการเรียนแล้ว และได้เพิ่ม
นางสาวจิตติรัตน์ จันทร์เขียว รหัส 504125 เข้าในกลุ่ม

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Auditing 11/06/09

การสอบบัญชี : การรวบรวมหลักฐานในการสอบบัญชี ประเมินฐานะการเงิน(งบดุล) กระแสเงินสด(งบกระแสเงินสด) ผลการดำเนินงาน(งบกำไรขาดทุน) ว่าถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป(มาตรฐานการบัญชี)หรือไม่ แต่ไม่ถูกต้อง 100% เพราะเกิดจากการสุ่นตัวอย่าง


คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีที่ดี

1. Ethics : จริยธรรม ซื้อสัตย์ โปร่งใส ตรงต่อเวลา

2. Standard : มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน(มาตรฐานการสอบบัญชี)

3. Skepticism : ความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ


ผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย

1. Auditor (ผู้สอบบัญชี) : ต้องให้ความเชื่อมั่นกับผู้ใช้ให้รู้ฐานะการเงิน กระแสเงินสดและผลการดำเนินงาน

2. Management (ผู้บริหาร) : ผู้มีหน้าที่ทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป(มาตรฐานการบัญชี)

3. User (ผู้ใช้)


สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้

1. เกิดขึ้นจริง / มีอยู่จริง

2. ครบถ้วน

3. สิทธิ / ภาวะผูกพัน

4. การตีราคา / การวัดมูลค่า

5. การแสดงรายการ / การเปิดเผยข้อมูล


ข้อจำกัดในการสอบบัญชี

1. ไม่สามารถถูกต้อง 100% เพราะเกิดจากการสุ่มตัวอย่าง

2. ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้สอบแต่ละคน

3. ระบบบัญชีย่อมมีข้อบกพร่องเสมอ(ความเสี่ยง)